สาขาวิชาศิลปศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและศิลปะ
คำอธิบายหลักสูตร
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสังคมศึกษาและศิลปะตามหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เป็นคนเก่งบนพื้นฐานความดี มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละต่อส่วนรวม เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของความเป็นไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย
จำนวนหน่วยกิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน (หน่วยกิต)
สังคมศึกษา6.5
ศิลปะ3.0
การวัดและการประเมินผล
การวัดและประเมินผลของสาขาวิชาศิลปศาสตร์ใช้วิธีการที่หลากหลาย ทั้งการจัดเก็บคะแนนระหว่างภาคเรียน และการสอบปลายภาคเรียนตามตารางของโรงเรียน แบ่งเป็นอัตราส่วนประมาณร้อยละ 70:30 การวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน พิจารณาจากชิ้นงานและกิจกรรมที่แสดงออกถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การประเมินค่า และการแก้ปัญหา พร้อมประยุกต์ใช้แนวทาง Design Thinking บูรณาการความรู้ และการประเมินตามสภาพจริง Authentic Assessment เข้ามาผสมผสาน
วิชาเพิ่มเติมที่เปิด
รายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
  1. การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing)
  2. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)
  3. ภูมิเศรษฐกิจ (Ecogeographic)
  4. ภูมิศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Geography)
  5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้งานภาคสนาม (Geographic Information System for Field Applications)
  6. การสืบเสาะทางโบราณคดี (Archaeological Inquiry)
  7. ทวารวดีศึกษา (Dvaravati Study)
  8. อยุธยาศึกษา (Ayutthaya Study)
  9. รัตนโกสินทร์ศึกษา (Rattanakosin Study)
  10. อาเซียนหลากมิติ (ASEAN Revisited)
  11. การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนตร์ (Global Politic through Film ASEAN Revisited)
  12. การบูรณาการความรู้ (Integration of Knowledge)
  13. ภูมิศาสตร์มนุษย์ (Human geography)
  14. ภูมิศาสตร์กายภาพ (Physical geography)
รายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  1. อาหารไทย (Traditional Thai Food)
  2. ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Arts and Culture)
  3. พื้นฐานทฤษฎีดนตรี (Music Theory)
  4. หีบเพลงเป่า (Harmonica)
  5. ดนตรีปฏิบัติ: เครื่องทองเหลือง (Music Performance: Brass Instruments)
  6. ศิลปะปฏิบัติ: สีน้ำมัน (Art Studio : Oil Color)
  7. เซรามิคเบื้องต้น (Ceramics)
  8. ดาวินชี (Davinci)
  9. ภาพยนตร์ (Movie)
การเทียบโอนหน่วยกิต
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ดูแลกิจกรรมโอลิมปิกวิชาการในรายวิชาภูมิศาสตร์ จึงมีรายวิชาที่สามารถเทียบโอนหน่วยกิตจากการเข้าอบรมในค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิกได้คือ รายวิชา ส30204 ภูมิศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Geography) จำนวน 0.5 หน่วยกิต
ลักษณะการเรียนการสอน
  1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ภาษาไทย และศิลปะแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติกับสถานการณ์ สถานที่ อุปกรณ์จริง สำหรับสาระศิลปะมีการส่งเสริมสุนทรียภาพให้นักเรียนด้วย
  2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสหสาขาวิชา ในรายวิชาศิลปศาสตร์ศึกษา (Liberal Arts) และรายวิชาศิลปศึกษา (Arts Education)
  3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเข้มข้นในรายวิชาเพิ่มเติมด้านภูมิศาสตร์ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือทางด้านภูมิศาสตร์อย่างถูกต้อง
  4. พัฒนาคุณภาพการจัดทำโครงงานของนักเรียนทางด้านภูมิศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้แก่ โครงงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ การพัฒนาทางด้านภาษา และการพัฒนาทางด้านดนตรีโดยใช้โปรแกรมทางเทคโนโลยี โดยส่งเสริมนักเรียนที่สนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพการหาความรู้ในรูปแบบการทำโครงงานให้ดียิ่งขึ้น
มุมมองของอาจารย์ในสาขา
สาขาวิชาศิลปศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่นในฐานะที่เป็นมนุษย์ในสังคม สาขาวิชาศิลปศาสตร์จึงช่วยเติมเต็มความรู้และทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนนอกเหนือไปจากความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์
ฝากถึงผู้เข้าร่วมงาน Open house
กิจกรรม Open House ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Student Empowerment ซึ่งนักเรียน MWIT เป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมขึ้นอย่างตั้งใจ จึงหวังว่าผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะได้รับประโยชน์ ความสนุกสนาน และที่สำคัญคือแรงบันดาลใจในการสานต่อความฝันทางการศึกษา